BOI: ครม. ไฟเขียวบีโอไอปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษLTR Visa

BOI: ครม. ไฟเขียวบีโอไอปรับเกณฑ์วีซ่าพิเศษLTR Visa

เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (B.O.I) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2568 ว่าคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติ เกณฑ์ และเงื่อนไขของวีซ่าพำนักระยะยาว (LTR) โดยการปรับเปลี่ยนเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน และผู้บริหารจากหลากหลายวงการมายังประเทศไทยยกระดับไทยสู่ศูนย์กลางของบุลลากรที่มีศักยภาพสูงระดับโลก

อัปเดตล่าสุด:

  1. ขยายกลุ่มเป้าหมายสำหรับผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ:
    • หมวดหมู่ “ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ” ครอบคลุมหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น ไม่จำกัดแค่เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรมเฉพาะ กลุ่มใหม่ขยายคลอบคลุมไปถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน การจัดการภัยพิบัติ นวัตกรรมแบบบูรณาการ และการศึกษา (ทั้งอาชีวศึกษาและการศึกษาระดับสูง)
  2. ขยายสิทธิ์ของผู้ติดตาม:
    • ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนของผู้ติดตามที่สามารถมาพร้อมกับผู้ถือวีซ่า LTR หลัก โดยผู้ติดตามสามารถรวมถึงพ่อแม่และผู้ติดตามทางกฎหมาย  ทำให้วีซ่านี้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับครอบครัวมากขึ้น
  3. สิทธิ์สำหรับพนักงานของบริษัทข้ามชาติ:
    • พนักงานที่ทำงานให้กับบริษัทในเครือที่เป็นเจ้าของทั้งหมดของบริษัทต่างชาติสามารถยื่นขอวีซ่า LTR ได้ เพียงแค่ต้องแสดงให้เห็นถึงความมั่นคงทางการเงินของบริษัทแม่ ไม่ใช่แค่บริษัทในเครือเท่านั้น

ข้อกำหนดที่ถูกยกเลิก:

  1. ข้อกำหนดประสบการณ์ทำงาน:
    • ข้อกำหนดประสบการณ์การทำงานขั้นต่ำ 5 ปีสำหรับผู้สมัครในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงและผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทยถูกยกเลิก ทำให้ผู้สมัครหลากหลายกลุ่มสามารถเข้าร่วมขอวีซ่า LTR ได้ง่ายขึ้น
  2. ข้อกำหนดรายได้ของบริษัทผู้สนับสนุน:
    • ข้อกำหนดให้ผู้สนับสนุนจากนายจ้างต่างชาติที่สนับสนุนผู้สมัครในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานจากประเทศไทยต้องมีรายได้จากธุรกิจต่างประเทศอย่างน้อย 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงเหลือ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสามปีที่ผ่านมา
  3. ข้อกำหนดรายได้ขั้นต่ำสำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง:
    • ข้อกำหนดรายได้ขั้นต่ำสำหรับพลเมืองโลกที่มีความมั่งคั่งถูกยกเลิก โดยจะเน้นไปที่ความมั่งคั่งและการลงทุนในประเทศไทยมากกว่าระดับรายได้

เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง:

  1. เพิ่มการเข้าถึง: การยกเลิกข้อกำหนดบางประการ เช่น ประสบการณ์การทำงานและเกณฑ์รายได้ จะทำให้วีซ่าสามารถเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน และผู้บริหารที่มีทักษะจากหลากหลายวงการได้มากขึ้น
  2. ดึงดูดความสามารถและการลงทุนในวงกว้าง: การขยายหมวดหมู่ให้ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรมและทำให้บริษัทข้ามชาติสามารถสนับสนุนพนักงานได้ง่ายขึ้น จะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางโลกสำหรับความสามารถที่มีศักยภาพสูงและการลงทุน
  3. สนับสนุนครอบครัว: การยกเลิกข้อจำกัดเกี่ยวกับผู้ติดตามจะทำให้ประเทศไทยเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่พิจารณาการย้ายถิ่นฐานระยะยาวพร้อมกับครอบครัว

สิทธิพิเศษสำหรับผู้ถือวีซ่า LTR:

  1. วีซ่าที่ต่ออายุได้ 10 ปี: พำนักได้ 5 ปีแรก โดยสามารถขอต่ออายุอีก 5 ปีหากมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด
  2. การยกเว้นจากอัตราส่วนการจ้างงาน: ไม่มีข้อกำหนดต้องปฏิบัติตามอัตราส่วน 4 คนไทยต่อ 1 คนต่างชาติ
  3. บริการ Fast Track: การเข้าถึงช่องทางด่วนที่สนามบินระหว่างประเทศในประเทศไทย
  4. ขยายระยะเวลาการรายงาน 90 วัน: ขยายข้อกำหนดการรายงานเป็นครั้งละ 1 ปี (แทนที่จะเป็นทุก 90 วัน) และยกเว้นการขอใบอนุญาตกลับเข้า
  5. ใบอนุญาตกลับเข้าแบบหลายครั้ง: สามารถเดินทางเข้าออกประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตเพิ่มเติม
  6. การอนุญาตให้ทำงาน: การอนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย รวมถึงใบอนุญาตทำงานดิจิทัล
  7. ลดภาษีรายได้ส่วนบุคคล: อัตราภาษี 17% สำหรับผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูง
  8. ยกเว้นภาษีจากรายได้ต่างประเทศ: ไม่มีการเก็บภาษีจากรายได้ที่ได้รับจากต่างประเทศ
  9. บริการ One-Stop: บริการด้านการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานที่ศูนย์บริการ One Stop Service

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้แสดงถึงกลยุทธ์ที่มีการวางแผนอย่างดี โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศของประเทศไทยอย่างมาก โดยการขยายขอบเขตให้กว้างขึ้น ประเทศไทยไม่เพียงแต่ไฟเขียวต้อนรับผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะหลากหลายจากทั่วโลก แต่ยังมุ่งหวังที่จะดึงดูดศักยภาพ การลงทุน และนวัตกรรมจากต่างชาติ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตและพัฒนาการในภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ โดยการปรับเปลี่ยนเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยกำลังสร้างภาพลักษณ์ที่ดึงดูดทั้งธุรกิจและบุคคลที่มีทักษะสูงจากทั่วโลก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวีซ่า LTR และ B.O.I โปรดติดต่อ ALLEGAL



ใส่ความเห็น